การตรวจสอบหาค่าการเสียรูปภายในหน้าตัดของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาพาเพื่อนๆ ไปลงรายละเอียดในรายการคำนวณการตรวจสอบหาค่าการเสียรูปภายในหน้าตัดของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กในแต่ละหน้าแต่ละหัวข้อไปพร้อมๆ กันนะ โดยที่ในวันนี้ผมก็จะมาต่อกนในหน้าที่ 3 4 และ 5 หลังจากที่เมื่อในสัปดาห์ที่แล้วผมได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาในการคำนวณในหน้าที่ 1 และ 2 ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็คือรูปที่ผมได้นำเอามาประกอบคำอธิบายในวันนี้นะครับ


โยที่เนื้อหาในทั้ง 3 หน้านี้จะมีความเหมือนๆ กันนั่นก็คือ เป็นการคำนวณหา ค่าโมดูลัสของหน้าตัดประสิทธิผลหรือ Ieff ซึ่งค่าๆ นี้จะเป็นค่าที่จะขึ้นอยู่กับ ค่าโมเมนต์ดัดของกรณีของน้ำหนักบรรทุกที่เรานำมาพิจารณา หรือ Mi ค่าโมเมนต์ดัดที่จะทำให้หน้าตัดนั้นเกิดการแตกร้าว หรือ Mcr ค่าโมดูลัสของหน้าตัดเต็มที่ยังไม่เกิดการแตกร้าว หรือ Ig ค่าโมดูลัสของหน้าตัดภายหลังจากที่หน้าตัดนั้นเกิดการแตกร้าวไปแล้ว หรือ Icr ทั้งนี้พารามิเตอร์ที่สำคัญที่สุดในหัวข้อๆ นี้ก็คือ ค่าโมเมนต์ดัดของกรณีของน้ำหนักบรรทุกที่เรานำมาพิจารณาเป็นหลักเพราะหากค่าโมเมนต์ดัดของกรณีของน้ำหนักบรรทุกที่เรานำมาพิจารณานั้นมีค่าที่มาก ก็จะส่งผลโดยตรงทำให้ค่าโมดูลัสของหน้าตัดประสิทธิผลนั้นออกมาค่าน้อยตามไปด้วยครับ

หากเพื่อนๆ สังเกตดูดีๆ ก็จะพบว่า หากการคำนวณค่าโมดูลัสของหน้าตัดประสิทธิผลในชิ้นส่วนที่ได้ทำการแบ่งหรือ MESH เอาไว้นั้นออกมามีค่าที่สูงกว่า ค่าโมดูลัสของหน้าตัดเต็มที่ยังไม่เกิดการแตกร้าว เราก็จะใช้ค่าโมดูลัสของหน้าตัดประสิทธิผลไม่เกิน ค่าโมดูลัสของหน้าตัดเต็มที่ยังไม่เกิดการแตกร้าว เพราะเราถือว่าค่าโมดูลัสของหน้าตัดนี้จะเป็นค่าสูงสุดที่จะสามารถนำเอามาใช้ในการคำนวณได้ ซึ่งจากตัวอย่างที่ผมได้นำมาแสดงนี้ก็คือ ชิ้นส่วนที่ได้รับการแบ่งชิ้นที่ 1 และ 8 ทั้งนี้เป็นเพราะค่าโมเมนต์ดัดของกรณีของน้ำหนักบรรทุกที่เรานำมาพิจารณาที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนๆ นี้จะมีค่าต่ำกว่าค่าโมเมนต์ดัดที่จะทำให้หน้าตัดนั้นเกิดการแตกร้าวนั่นเองครับ

สาเหตุที่เราจะต้องทำการนำเอา ค่าโมเมนต์ดัดของกรณีของน้ำหนักบรรทุกแต่ละกรณีที่เรานำมาพิจารณาคำนวณในแต่ละหน้านั้นก็เป็นเพราะว่า เราต้องการที่จะนำเอา ค่าของค่าโมดูลัสของหน้าตัดประสิทธิผล ของแต่ละกรณีของน้ำหนักบรรทุกแต่ละกรณีนั้นไปใช้ในการพิจารณาหาค่าการเสียรูปในแนวดิ่งของคานสำหรับแต่ละกรณีของน้ำหนักบรรทุกด้วย ซึ่งก็คือขั้นตอนในการคำนวณที่อยู่ในหน้าสุดท้ายครับ

ทั้งนี้เพื่อนๆ จะเห็นได้จากขั้นตอนในการคำนวณภายในหน้าที่ 3 4 และ 5 นี้เองว่า เพราะเหตุใดการคำนวณหาค่าการเสียรูปของคานโดยวิธีละเอียดนั้นจึงถือได้ว่าเป็นขั้นตอนในการคำนวณที่เรียกได้ว่ามีความยุ่งยากและก็ละเอียดซับซ้อนมากๆ ในระดับหนึ่งเลย ดังนั้นหากเพื่อนต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการต้องตรวจสอบค่าการเสียรูปของคานโดยวิธีละเอียดแล้ว เพื่อนๆ ก็ควรที่จะเลือกกำหนดค่าของขนาดความลึกของคานให้มีค่าที่ไม่น้อยไปกว่าที่ CODE ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ในการใช้งานก็จะเป็นการดีที่สุดนะครับ

เอาเป็นว่าในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตพาเพื่อนๆ ไปลงรายละเอียดในรายการคำนวณในหน้าสุดท้ายนั่นก็คือ รายการคำนวณในหน้าที่ 6 ให้จบ หากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามรับชมกันได้ในโพสต์ของวันพุธหน้าครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#ความรู้เรื่องการหาค่าการเสียรูปในโครงสร้างคานคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีแบบละเอียด
#ครั้งที่4
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam