ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม รูปแบบหลักของการทรุดตัวของโครงสร้างฐานราก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

หากเพื่อนๆ เป็นแฟนเพจของเรามานานน่าจะเคยได้อ่านบทความต่างๆ ของผมเกี่ยวกับเรื่องข้อเสียหรือความเสียหายต่างๆ ที่เกิดจาก การทรุดตัวของโครงสร้างฐานรากแบบไม่เท่ากัน หรือ DIFFERENTIAL SETTLEMENT อยู่บ่อยๆ ซึ่งผมมานั่งคิดๆ ดูเลยมีความคิดๆ หนึ่งผุดขึ้นมาว่า หากผมไม่ทำการอธิบายให้เพื่อนๆ นั้นมีความรู้และความเข้าใจว่ารูปแบบของการทรุดตัวที่อาจจะสามารถเกิดขึ้นได้ในโครงสร้างฐานรากของเรานั้นจริงๆ แล้วจะมีทั้งหมดกี่รูปแบบกันแน่ เพื่อนๆ อาจจะเข้าใจผิดคิดไปเองได้ว่าการทรุดตัวนั้นมีเพียงแค่รูปแบบๆ เดียวก็ได้ ดังนั้นในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาอธิบายให้เพื่อนๆ ได้ทราบถึงชนิดของรูปแบบหลักๆ ของการทรุดตัวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในโครงสร้างฐานรากของเราว่ามีรูปแบบหลักๆ ทั้งหมดกี่ประเภทนะครับ
เราจะสามารถทำการจำแนกชนิดของรูปแบบหลักๆ ของการทรุดตัวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในโครงสร้างฐานรากออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่


รูปแบบในรูป (A) ซึ่งเราจะเรียกลักษณะรูปแบบของการทรุดตัวแบบนี้ว่า การทรุดตัวของโครงสร้างฐานรากแบบสม่ำเสมอเท่าๆ กัน หรือ UNIFORM SETTLEMENT โดยที่โครงสร้างฐานรากทั้งหมดในอาคารนั้นจะเกิดการทรุดตัวลงไปแบบที่มีค่าเท่าๆ กันและพร้อมๆ กันด้วย ซึ่งก็จะส่งผลทำให้โครงสร้างหลักทั้งหมดนั้นจะยังสามารถที่จะคงรูปเดิมอยู่ได้โดยที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ขึ้นในตัวโครงสร้างหลักเลย ซึ่งปัญหาที่จะพบหากว่าอาคารของเรานั้นเกิดการทรุดตัวของโครงสร้างฐานรากแบบนี้ก็คือ การเชื่อมต่อท่อต่างๆ ระหว่างภายนอกและภายในของอาคารอาจจะเกิดการหักงอหรือฉีกขาดออกจากกันได้นะครับ

รูปแบบในรูป (B) ซึ่งเราจะเรียกลักษณะรูปแบบของการทรุดตัวแบบนี้ว่า การทรุดตัวของโครงสร้างฐานรากแบบเอียงตัวหรือที่พวกเรานิยมเรียกพฤติกรรมของโครงสร้างฐานรากเช่นนี้ว่าเกิดการ TILTING ขึ้น โดยที่โครงสร้างฐานรากทั้งหมดในอาคารนั้นจะเกิดการทรุดตัวลงไปแบบสม่ำเสมอเพียงแค่ด้านใดด้านหนึ่งเพียงเท่านั้น ซึ่งก็จะส่งผลทำให้โครงสร้างหลักทั้งหมดนั้นจะยังสามารถที่จะคงรูปเดิมอยู่ได้หากการเอียงตัวที่เกิดขึ้นนั้นมีค่าอยู่ในช่วงที่ยังสามารถที่จะยอมรับได้ กล่าวคือ การเอียงตัวที่เกิดขึ้นในโครงสร้างฐานรากนั้นยังมีค่าที่ไม่มากจนทำให้จุดศูนย์ถ่วงของโครงสร้างนั้นเกินแนวของโครงสร้างฐานรากของอาคารไปนั่นเองครับ

รูปแบบในรูป (C) ซึ่งเราจะเรียกลักษณะรูปแบบของการทรุดตัวแบบนี้ว่า การทรุดตัวของโครงสร้างฐานรากแบบไม่เท่ากัน หรือ DIFFERENTIAL SETTLEMENT ซึ่งผมคงจะไม่ต้องทำการอธิบายอะไรมากมายเกี่ยวกับรูปแบบของการทรุดตัวแบบนี้แล้วเพราะผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ทุกๆ คนน่าที่จะทราบกันดีอยู่แล้วว่า หากโครงสร้างฐานรากของเรานั้นเกิดการทรุดตัวแบบนี้ขึ้นจะทำให้โครงสร้างหลักของเรานั้นเกิดการเสียรูปในลักษณะใดและจะเกิดเหตุหรือปัญหาอะไรตามมาบ้าง เนื่องจากรูปแบบของการทรุดตัวแบบนี้ถือได้ว่าเป็นรูปแบบของการทรุดตัวที่มักจะทำให้โครงสร้างของอาคารของเรานั้นเกิดความเสียหายมากที่สุดเลยก็ว่าได้ ดังนั้นผมจึงมักที่จะเตือน พูดถึงและอธิบายถึงพฤติกรรมต่างๆ ของโครงสร้างเมื่ออาคารของเรานั้นเกิดรูปแบบของการทรุดตัวแบบนี้แก่เพื่อนๆ อยู่เป็นประจำ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นอุทาหรณ์และข้อพึงระวังให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนครับ

สุดท้ายนี้ผมขอสรุปสั้นๆ ว่าจริงๆ แล้วเมื่อโครงสร้างฐานรากของเรานั้นเกิดการทรุดตัวไปแล้ว สาเหตุของการทรุดตัวของโครงสร้างฐานรากของเรานั้นอาจจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากหลายๆ สาเหตุผนวกเข้าด้วยกัน โดยที่มิใช่แค่เพียงรูปแบบของการทรุดตัวเพียงแค่รูปแบบเดียวเท่านั้น ดังนั้นนี่เองจึงเป็นเหตุและผลว่าเหตุใดผมจึงมักจะกล่าวและให้คำแนะนำอยู่บ่อยๆ ว่า หากเพื่อนๆ กำลังเผชิญปัญหาการที่โครงสร้างฐานรากนั้นเกิดการทรุดตัวไปให้เพื่อนๆ ขอคำปรึกษาวิศวกรผู้มีความรู้และความชำนาญในการแก้ปัญหาโครงสร้างฐานรากจึงจะเป็นวิธีในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#รูปแบบหลักของการทรุดตัวของโครงสร้างฐานราก
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam