“ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” ขั้นตอนการทำการเจาะสำรวจดินชนิดพิเศษ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

วันนี้ผมจะมาขออนุญาตมาพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกันกับขั้นตอนการทำการเจาะสำรวจดินเพื่อเป็นการเก็บเอาตัวอย่างดินขึ้นมาเพื่อทำการทดสอบหาค่าคุณสมบัติต่างๆ ของชั้นดินชนิดพิเศษ กล่าวคือเราจะทำการทดสอบหาค่าคุณสมบัติต่างๆ ของชั้นดินแบบนี้ก็ต่อเมื่อเรามีความต้องการที่จะทำการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากของโครงสร้างที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนบกเหมือนกันกับกรณีของงานก่อสร้างทั่วๆ ไปนั่นก็คือ งานประเมินกำลังของโครงสร้างประเภทที่เป็นท่าเทียบเรือน่ะครับ


สาเหตุที่ผมเรียกการทดสอบหาค่าคุณสมบัติต่างๆ ของชั้นดินแบบนี้ว่าเป็นการทดสอบชนิดพิเศษก็เพราะว่า เราไม่สามารถที่จะทำการเจาะสำรวจดินเพื่อเป็นการเก็บเอาตัวอย่างดินขึ้นมาเพื่อทำการทดสอบหาค่าคุณสมบัติต่างๆ ของชั้นดินเหมือนกันกับขั้นตอนปกติทั่วๆ ไปได้ ซึ่งถ้าดูจากรูปก็จะเห็นได้ว่าเป็นพื้นที่ที่อยู่ใต้โครงสร้างที่เป็นท่าเทียบเรือ เวลาที่ระดับของน้ำทะเลปานกลางหรือ MEAN SEA LEVEL หรือที่พวกเรานิยมเขียนกันสั้นๆ ด้วยตัวย่อว่า MSL นั้นมีค่าที่เพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ตรงบริเวณนี้ก็จะเต็มไปด้วยน้ำทะเลที่ถูกหนุนสูงขึ้นมา และ ถึงแม้เวลาที่ระดับ MSL นั้นมีค่าที่ลดลงไปซึ่งก็จะส่งผลทำให้ระดับของน้ำทะเลในบริเวณนี้ลดต่ำลงมาและทำให้พื้นที่ในบริเวณนี้มีความแห้งพอและสามารถที่จะทำการตั้งสามขาเพื่อที่จะทำการทดสอบดินได้แต่หากสังเกตดูดีๆ ก็จะพบว่า เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วพื้นที่บริเวณนี้จะเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันลงไป กล่าวคือเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้มีความราบเรียบอะไร อีกทั้งความสูงใต้โครงสร้างส่วนนี้ก็จะมีอยู่ค่อนข้างน้อยมากๆ เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงแวดล้อมข้างต้นเหล่านี้ก็จะพบว่าเราไม่สามารถที่จะทำการตั้งสามขาเพื่อที่จะทำการทดสอบดินได้ตามขั้นตอนปกติได้นะครับ

ดังนั้นหากเราต้องการที่จะทำการเจาะสำรวจดินเพื่อเป็นการเก็บเอาตัวอย่างดินขึ้นมาเพื่อทำการทดสอบหาค่าคุณสมบัติต่างๆ ของงานในลักษณะแบบนี้ เราจะต้องใช้เครื่องเจาะแบบ ROTARY DRILLING RIG ซึ่งจะมีกำลังมากกว่าเครื่องแบบปกติทั่วๆ ไปเพื่อที่จะทำการติดตั้งเครื่องเจาะดังกล่าวเข้ากับเครื่องเจาะบนพื้นด้านบน หลังจากนั้นเราอาจจะต้องทำการเจาะหรือเปิดโครงสร้างแผ่นพื้นตรงนี้ออกเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำการฝัง ปลอกเหล็กกันดินพัง หรือ SOIL CASING จากทางด้านบน ซึ่งปลอกเหล็กกันดินพังที่จะใช้นี้ก็จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและขนาดของความหนาที่มากกว่ากรณีของการเจาะสำรวจดินตามปกติทั่วๆ ไปนะครับ

สาเหตุนั้นเป็นเพราะว่าตลอดความยาวที่เราเห็นว่าเป็นพื้นที่ว่างนั้น จะต้องมีปลอกเหล็กกันดินพังนี้คอยประคับประคองให้การเก็บตัวอย่างของดินนั้นสามารถที่จะทำได้ตามปกติ ดังนั้นปลอกเหล็กกันดินพังดังกล่าวก็จะต้องมีความแข็งแรงมากเป็นพิเศษ ซึ่งนี่คือเหตุผลว่าเพราะเหตุใดเราจึงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องเจาะแบบ ROTARY DRILLING RIG เพราะเครื่องเจาะชนิดนี้จะต้องทำหน้าที่ในการหิ้วตัวปลอกเหล็กกันดินพังไว้ตลอดระยะเวลาของการทำการทดสอบ อีกทั้งจะต้องออกแรงดึงกระบอกเก็บตัวอย่างของดินที่ระดับชั้นดินต่างๆ ที่เราจะต้องเก็บรวบรวมขึ้นมาด้วย ซึ่งทั้งตัวปลอกเหล็กกันดินพังและกระบอกเก็บตัวอย่างของดินที่จะใช้ก็จะมีทั้งน้ำหนักและความยาวที่มากกว่าปกติหลายเท่าเลย นอกเหนือจากนั้นเราก็จะสามารถทำการเจาะเก็บตัวอย่างดินไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ระดับของผิวดินชั้นบนสุด ไปจนถึงระดับชั้นความลึกของดินที่เรามีความต้องการที่จะทำการทดสอบหาคุณสมบัติของดินได้ตามปกติเลยครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#ขั้นตอนการทำการเจาะสำรวจดินชนิดพิเศษ
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam